SHARES:
สงสัยกันไหม คะ ว่าทำไม “Nostalgia Marketing” ถึงได้รับการนิยามไว้ว่าเป็นการตลาดแห่งความคิดถึง? 

นั้นก็เพราะมันคือการตลาดที่ทำให้ลูกค้าโหยหาถึงกลิ่นอายความเป็นอดีต ซึ่งหลายเรื่องราวยังติดอยู่ในความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ สถานที่ หรือเสียงเพลง โดยจะเน้นขายความทรงจำที่ดีและสร้างความรู้สึกในเชิงบวก

หลายๆ เรื่องราวยังติดอยู่ใน “ความทรงจำ” ของคนยุค 70’s, 80’s, 90’s และไม่ได้มีเพียงคนในยุคนั้นเท่านั้นที่หวนคิดถึงวันวาน เพราะในเวลานี้สิ่งของเครื่องใช้ในยุค Analog กลับเป็น “เสน่ห์” ที่ดึงดูดคนกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่เติบโตมาในยุคดิจิทัล ให้ความสนใจด้วยเช่นกัน

ถึงแม้ Nostalgia เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) แต่กลยุทธ์นี้สามารถตอบโจทย์แบรนด์ทั้งในเชิง “คุณค่า” และ “มูลค่า” ได้มากกว่าที่จะเน้นการขายเชิงปริมาณเยอะๆ
Nostalgia Marketing คือการตลาดแบบไหน?

Nostalgia Marketing คือการตลาดที่ใช้ความทรงจำและประสบการณ์ที่ดีจากอดีตเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า อาจเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ สัญลักษณ์ สื่อโฆษณา หรือเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับช่วงเวลาในอดีตที่คนมีความทรงจำที่ดี การตลาดแบบนี้มักจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมีความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกต่อแบรนด์

ตัวอย่างของ Nostalgia Marketing

1. สินค้าคลาสสิกกลับมาใหม่
หลายบริษัทเลือกที่จะนำสินค้าที่ได้รับความนิยมในอดีตกลับมาจำหน่ายอีกครั้ง เช่น การนำโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าๆ มาผลิตใหม่ในรูปแบบที่ทันสมัย หรือการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่มีการออกแบบที่คล้ายกับสินค้าคลาสสิก

2. การใช้โฆษณาและสื่อเก่า
การใช้โฆษณาและสื่อที่มีความเชื่อมโยงกับอดีต เช่น การใช้เพลง ภาพยนตร์ หรือโฆษณาที่ได้รับความนิยมในยุคก่อนๆ เพื่อสร้างความรู้สึกคุ้นเคยและคิดถึงช่วงเวลานั้นๆ

3. การใช้แบรนด์และโลโก้เดิม
หลายแบรนด์เลือกที่จะกลับมาใช้โลโก้หรือดีไซน์เก่าที่เคยใช้ในอดีต เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้บริโภคที่เคยมีประสบการณ์กับแบรนด์ในช่วงเวลานั้นๆ 

“Nostalgia” เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชนะใจ บริษัท และ Agency กว่า 43%

ซึ่งในการหาลูกค้าใหม่ว่ายากแล้ว การดึงดูดให้กลับมาซื้อซ้ำ และกลายเป็น Customer Loyalty นั้นยากกว่า และในปัจจุบันลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น ไม่ปักใจอยู่ที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง พร้อมจะเปลี่ยนใจตลอดเวลา

มีผลสำรวจพบว่า เมื่อแบรนด์เปิดตัวสินค้าใหม่ ลูกค้าปัจจุบันมีแนวโน้มจะลองสินค้าใหม่ถึง 50% และจะใช้จ่ายมากกว่าลูกค้าใหม่ 31% ดังนั้น การสร้าง Customer Loyalty จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจ (Source : Markinblog)

เศรษฐกิจส่งผลต่อแบรนด์

แน่นอนว่าช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าย่อมเข้มงวด และประหยัดค่าใช่จ่ายมากขึ้น ซึ่งแบรนด์จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ว่าจะทำการตลาดในรูปแบบไหน ให้ลูกค้ายังเลือกใช้แบรนด์ตัวเอง เช่น การสร้างคุณค่าให้แบรนด์ตัวเองมีเอกลักษณ์
ข้อมูลจาก Harvard Business review ระบุไว้ว่าผู้บริโภคไม่ได้ใช้จ่ายน้อยลง เพียงแต่ปรับวิธีการเลือกซื้อ หากแบรนด์เข้าใจความต้องการของลูกค้า ลูกค้าก็ยินดีที่จะจ่าย หรือหากแบรนด์สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิม (Brand Loyalty) ซึ่งคุ้มค่ากว่าการหาลูกค้าใหม่อย่างแน่นอน

ว่าด้วยกลยุทธ์ Nostalgia Marketing

เทรนการตลาดแบบ “Nostalgia” ในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนหวนถึงอดีตในยุค 70’s, 80’s, 90’s เกิดความคิดถึง ซึ่งลูกค้าจะรู้สึกสบายใจได้จากการทำให้หวนไปถึงความทรงจำที่สวยงามในอดีต
ซึ่งการทำ Nostalgia Marketing ทำได้หลายแบบ เช่นการทำแคมเปญ PR, การเล่า Storytelling เรื่องราวของแบรนด์ เพื่อลูกค้าจะรู้สึกมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความอยากสนับสนุนแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

Nostalgia Marketing เหมาะกับใคร?

“Nostalgia” ไม่ใช่แค่เรื่องของ Gen Y แต่ยังเกิด New Demand จากกลุ่ม Gen Z และ Gen Alpha
หากมองย้อนกลับไป ยุค 70’s, 80’s, 90’s จะเชื่อมโยงกับกลุ่ม Baby Boomer และกลุ่ม Gen X เพราะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ในยุค Analog
แต่ในความเป็นจริง “Nostalgia” ไม่ได้จำกัดแค่ว่าต้องเป็นคนที่เกิดในยุคนั้นๆ แต่รวมถึงคนที่เกิดมาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุค Analog เข้าสู่ยุค Digital และเด็ก Gen Z ที่เกิดมาในยุค Digital แล้ว
ดังนั้นลูกค้า Gen Y และกลุ่ม Gen Z ถือเป็น New Demand ของแบรนด์ ที่ต้องการใช้กลยุทธ์ Nostalgia Marketing เพื่อสร้างโอกาสการขายไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหม่

ให้ความสำคัญกับลูกค้าประจำก่อนเสมอ

ในการทำแบรนด์การรักษาลูกค้าเดิม มักจะได้เปรียบกว่าการหาลูกค้าใหม่ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้ และแน่นอนว่าลูกค้าประจำย่อมมีการบอกต่อและซื้อซ้ำ
ซึ่งกุญแจสำคัญในการรักษาลูกค้าเดิม คือ การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า พัฒนาและปรับปรุงแบรนด์ให้ดีขึ้น
ดังนั้นแบรนด์ที่สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำแบรนด์ไปแล้วในระดับหนึ่ง

ความคลาสสิคและย้อนยุคที่ลูกค้าเห็นจากการตลาด “Nostalgia” ที่ทางแบรนด์ทำแคมเปญหรือเล่า Storytelling มีส่วนช่วยสร้างความประทับใจ เพราะลูกค้าเกิดการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์ ซึ่งการแชร์ความรู้สึกระหว่างกันถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาฐานลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าประจำที่สามารถช่วยสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจได้ในอนาคต

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]