SHARES:

ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องเจอกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวสินค้า หรือการตัดสินใจลงทุนในตลาด อีกทั้งยังมีคู่แข่งทางการตลาดทั้งที่เพิ่งเข้ามาในตลาดและคู่แข่งที่อยู่ในตลาดอยู่แล้ว

โดยเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดได้นั้น เรียกว่า “Five Force Model” ถูกคิดค้นโดย Michael E. Porter อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Harvard
ซึ่งหากอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง? วันนี้ทาง InsightERA จะพาไปเจาะลึกทีละข้อกันเลยค่ะ
การแข่งขันของผู้เล่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivalry Among Existing Competitors)

เป็นการวิเคราะห์ตลาดว่า ณ เวลานั้นสภาพการแข่งขันของตลาดเป็นอย่างไร หากมีคู่แข่งในตลาดมาก ก็จะยิ่งลดโอกาสในการขายสินค้า ดังนั้นธุรกิจควรวิเคราะห์ความสามารถในการแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดว่าจะแย่งชิงมาอย่างไรและใช้กลยุทธ์ใด เช่น การแข่งขันด้านราคา, คุณภาพของสินค้าและการบริการ,
ความสามารถในการผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า เป็นต้น 

การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrants)

การเข้าสู่ตลาดของผู้แข่งขันรายใหม่ แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจไม่มากก็น้อย ในการที่มีผู้แข่งในตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางตลาดของเราน้อยลง สำหรับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่อาจไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีกำลังการผลิตที่สูง ราคาถูก
แต่ในธุรกิจที่มีขนาดปานกลางถึงขนาดเล็กอาจต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเข้ามาของคู่แข่งใหม่ ซึ่งหากการเข้ามาส่งผลให้การแข่งขันของตลาดรุนแรงขึ้น นั่นหมายความว่าคู่แข่งมีส่วนแบ่งมากต่อตลาด ซึ่งในการแก้ปัญหาของธุรกิจเล็กๆอาจใช้การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทางลูกค้า (Customer Relationship) หรือการบริการที่ไม่เหมือนใครทำให้ลูกค้าพึงพอใจ 

การคุกคามของสินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products or Services)

เป็นการวิเคราะห์อุตสาหกรรมนั้นๆว่ามีสินค้าหรือบริการใดที่สามารถทดแทนได้บ้าง เพราะหากมี อาจทำให้ลูกค้าหันไปซื้อหรือใช้บริการอื่นทดแทนได้ ซึ่งอาจไม่ใช่สินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน แต่มีการใช้งานหรือบริการที่คล้ายคลึงกัน เช่น การนั่งเครื่องบินแทนรถบัส การใช้โน้ตบุ๊คแทนใช้คอม ซึ่งฟังก์ชันการใช้งานอาจไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นควรพัฒนาคุณภาพของสินค้าอยู่เสมอ สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดและเป็นที่พูดถึง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ดูมีความน่าสนใจ

อำนาจการต่อรองจากลูกค้า (Bargaining Power of Buyers)

ในการเติบโตและประสบความสำเร็จของธุรกิจ ปัจจัยที่มีผลค่อนข้างมากคือลูกค้า ดังนั้นการต่อรองของลูกค้าจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะหากลูกค้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ สั่งของในปริมาณมาก หากธุรกิจไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ก็อาจทำให้ลูกค้าหันไปสนใจผู้ค้าคนอื่นๆได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาว่า จะทำให้รายได้เราลดลง หรือการปรับคุณภาพของสินค้าให้เหมาะสม ดังนั้นผู้บริหารควรทำการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย

อำนาจการต่อรองจากซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)

ในการต่อรองจากซัพพลายเออร์มีหลายปัจจัยที่บริษัทต้องคิด เช่น ความสำคัญของสินค้ากับซัพพลายเออร์นั้นๆ หากสินค้ามีความสำคัญมาก ซัพพลายเออร์ก็จะมีอำนาจการต่อรองที่สูงตามมาด้วย ซึ่งผลที่ตามมาคือ ต้นทุนในการผลิตของเราจะสูงมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจควรวางแผนให้ดีในการลงทุน เช่น อาจใช้ซัพพลายเออร์หลายๆแห่งเพื่อไม่กระจุกอำนาจการต่อรองไว้ที่เดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินและแก้ไขปัญหาของแต่ละบริษัท

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]