สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ของประเทศนั้นๆ โดยมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่า 10% หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราเท่ากับหรือมากกว่า 7%
จากข้อมูลเดือนกันยายน ปี 2566 ของกรมการปกครอง ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี มีจำนวนกว่า 13 ล้านคน หรือคิดเป็น 19.74% ของประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society)”
แน่นอนว่าการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การกำหนดเป้าหมายมุ่งไปที่กลุ่มคนสูงวัยในรูปแบบเดิม อาจทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกถึงความแปลกแยกได้ สิ่งแรกที่แบรนด์ควรทำ คือ แบรนด์ควรทำความเข้าใจพฤติกรรม วิธีการมองโลก แนวคิด การใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะการมองว่าคนวัยนี้แก่ เฉยชา หัวโบราณ ไม่กระตือรือร้น หรือไม่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ อาจทำให้แบรนด์พลาดโอกาสในการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้
จากงานวิจัยจาก Age of Majority ที่พบว่า กว่า 95% ของผู้สูงอายุที่ทำแบบสำรวจ ออกกำลังกายนอกบ้านเกือบทุกวัน และอีกกว่า 52% ชอบที่จะลองสินค้าใหม่ๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รองเท้าสุขภาพ เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการมองผู้สูงวัยให้แตกต่างจากที่เคยมอง จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้สูงวัยก็มีความทันสมัย เท่าทันเทคโนโลยีไม่ต่างจากกลุ่ม GenZ เช่นกัน
2. ทำการตลาดแบบหวนคืนอดีต (Nostalgia)
เทรนการตลาดแบบ “Nostalgia” ในปัจจุบัน ทำให้กลุ่มผู้สูงวัยหวนถึงอดีตในยุค 70’s, 80’s, 90’s เกิดความคิดถึง ซึ่งลูกค้าจะรู้สึกสบายใจได้จากการทำให้หวนไปถึงความทรงจำที่สวยงามในอดีต
ซึ่งการทำ Nostalgia Marketing ทำได้หลายแบบ เช่นการทำแคมเปญ PR, การเล่า Storytelling เรื่องราวของแบรนด์ เพื่อลูกค้าจะรู้สึกมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความอยากสนับสนุนแบรนด์อย่างต่อเนื่อง (อ่านการตลาดแบบหวนคืนอดีตเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.insightera.co.th/nostalgia-marketing/)
ความคลาสสิคและย้อนยุคที่ลูกค้าเห็นจากการตลาด “Nostalgia” ที่ทางแบรนด์ทำแคมเปญหรือเล่า Storytelling มีส่วนช่วยสร้างความประทับใจ เพราะลูกค้าเกิดการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์
3. การตลาดแบบบอกต่อช่วยให้มีประสิทธิภาพ
“การตลาดแบบบอกต่อ (Referal Marketing)” เป็นหนึ่งในวิธีการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก ผู้บริโภคจะเชื่อถือข้อมูลสินค้าที่มาจากการบอกต่อของคนรู้จัก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย
ผู้สูงวัยอาจไม่ใช่ผู้บริโภคกลุ่มแรกที่เข้ามาสนใจสินค้าผ่านการโฆษณาโดยตรง การทำให้น่าเชื่อถือ หรือมีรีวิวจากผู้ใช้จริงโดยเฉพาะคนในวัยเดียวกัน หรือจากดาราคนดังที่พวกเขาชื่นชอบ จะช่วยให้ผู้บริโภคสูงวัยสนใจสินค้า บอกต่อ และชักชวนเพื่อนๆ ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ได้
4. ใช้ภาษาในการสื่อสารให้เหมาะสม
คนไทยชอบที่จะสร้างสรรค์คำศัพท์ใหม่ๆ อยู่เสมอ บวกกับความตลกเฮฮาที่ฝังแน่นอยู่ในสายเลือด และโลกออนไลน์ที่ทุกอย่างไปไว ทำให้คำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่มักจะมีความหมายที่ตลกขบขันและสามารถสร้างเสียงหัวเราะได้เสมอ โดยเฉพาะ คำศัพท์วัยรุ่น ที่ใช้กันในโลกโซเชียล
ในยุคปัจจุบันทุกวันผู้สูงวัยจะเล่นโซเชียลกันเก่งมากขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจในคำศัพท์ฮิตหรือคำแสลง การเลือกใช้ภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจจึงช่วยให้สื่อสารได้ง่ายกว่า
ถึงเรื่องของวัย อายุ หรือร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็น inisight ที่แบรนด์เลือกหยิบมาใช้ในการสื่อสารได้ แต่ไม่ควรสื่อสารให้ดูน่ากลัว ดูน่าวิตกกังวล เพราะผู้สูงอายุเองก็ต้องการหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการใช้ชีวิตต่อไป แม้จะอายุมากขึ้นทุกวันก็ตาม การสื่อสารในเชิงบวก เช่น การบอกว่าแบรนด์มีตัวช่วย มีสิ่งที่ทำให้ชีวิตพวกเขาง่ายขึ้น ก็สามารถทำให้ผู้บริโภคสูงวัยสนใจได้
✓ The right insight at your fingertips.
—————
“InsightERA” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร
สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติมhttps://www.insightera.co.th/contact-us/Email : [email protected]
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา