ในโลกที่เต็มไปด้วยโซเชียลมีเดีย การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดยอดนิยม ช่วยในการขยาย Brand Awareness ของแบรนด์ และเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์
จากรายงาน State of Influencer Marketing 2024 โดย Influencer Marketing Hub พบว่า 83% ของแบรนด์จัดสรรงบประมาณสำหรับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์โดยเฉพาะ และ 73% ของนักการตลาดวางแผนจะเพิ่มงบประมาณสำหรับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์อีกด้วย
วันนี้อินไซท์เอราจะพามารู้จักกับเคล็ดลับการเลือก Influencer ให้มีประสิทธิภาพกันค่ะ
1. รับรู้เป้าหมายสำหรับแคมเปญการตลาด
ก่อนที่จะเริ่มมองหา Influencer ที่อยากร่วมงานด้วย สิ่งสำคัญคือต้องระบุสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จ เช่น
- Brand Awareness : หากเป้าหมาย คือ การรับรู้ การทำงานร่วมกับ Influencer ที่มีผู้ติดตามในวงกว้าง อาจคุ้มค่ามากกว่าผู้ที่มีผู้ติดตามน้อย เพราะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้ในวงกว้าง
- Sales : การตลาดแบบใช้ Influencer หากทำได้ดีจะสามารถสร้าง Conversion ที่สำคัญได้
- Follower growth : หากต้องการขยายบัญชีโซเชียลมีเดีย Influencer จะเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพมาก เช่น จัดกิจกรรมแจกของรางวัลกับ Influencer บน Instagram และกำหนดให้ Follower growth เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการเข้าร่วม
2. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
การรู้จักกลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนสำคัญของแคมเปญการตลาด ซึ่งการตลาดแบบ Influencer ก็ไม่แตกต่างกัน
ในการค้นหา Influencer ที่เหมาะสมที่จะร่วมงานด้วย ต้องมีความเข้าใจอย่างเกี่ยวกับบุคลิกและข้อมูลประชากรของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ภูมิภาคที่อาศัยอยู่, อายุเท่าไหร่, ตำแหน่งงานอะไร และมีความสนใจในเรื่องไหน, ใช้โซเชียลมีเดียบ่อยแค่ไหน แพลตฟอร์มไหนที่ใช้บ่อยที่สุด หรืออื่นๆ ซึ่งการรู้จักกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้ค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ และกำหนดเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
3. ตัดสินใจว่าต้องการร่วมงานด้วย Influencer ระดับไหน
Influencer มีหลายระดับตามจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งก่อนจะร่วมงานกับInfluencer ต้องรู้ก่อนว่าอินฟลูเอนเซอร์ มีกี่ระดับ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามจำนวนผู้ติดตาม
- Mega-Influencer : ผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน
- Macro Influencer : ผู้ติดตาม 100,000 – 1 ล้านคน
- Micro-Influencer : ผู้ติดตาม 10,000 – 100,000 คน
- Nano-Influencer : ผู้ติดตาม 10,000 คนหรือน้อยกว่า
ยิ่งผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์มากเท่าใด การร่วมงานกับอินฟลูฯ ก็จะยิ่งมีราคาแพงมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ Influencer ที่มีผู้ติดตามหลายล้านคน ไม่ได้หมายความว่าแคมเปญของแบรนด์จะประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ควรมีการเลือกและกำหนดระดับอินฟลูเอนเซอร์ ให้เหมาะสม
อ่านรูปแบบ Influencer Follower ที่แบรนด์เลือกใช้ เพิ่มเติมได้ที่ 3 Trends Influencer Marketing
4. Search for Influencers
หลังจากจำกัดเป้าหมายแคมเปญ กลุ่มเป้าหมาย และระดับของอินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการร่วมงานด้วยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มการค้นหา Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์
- ค้นหา #Hastag ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือกลุ่มเฉพาะ : แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะสามารถค้นหาด้วยแฮชแท็ก ซึ่งเราสามารถรวมแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแบรนด์ เพื่อค้นหา Influencer ในกลุ่มเฉพาะหรือผู้ที่สนใจในเรื่องนั้นๆ
- เริ่มต้นด้วย Influencer เพียงคนเดียว และค้นหาบัญชีที่เกี่ยวข้อง : ค้นหาบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหา Influencer ที่คล้ายกัน เช่น บน Instagram สามารถทำได้โดยไปที่โปรไฟล์และคลิกที่ไอคอนลูกศรลง “V” เพื่อดูว่ามีบุคคลที่คล้ายกันในแท็บ “ที่เกี่ยวข้อง” หรือไม่
- ใช้ Influencer Marketing Platform : เครื่องมือ DOM มีคำตอบให้คุณแน่นอน! ด้วยการจัดเรียงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด รู้ว่าคู่แข่งในตลาดกำลังใช้ Influencer คนไหนอยู่ โดยวิเคราะห์จากกลุ่มหัวข้อที่สนใจและต้องการเปรียบเทียบ โดยจัดอันดับ Influencer จากการถูกพูดถึง(Mentions) และการมีส่วนร่วม (Engagement) บนสื่อ Social Network มากที่สุด ในหัวข้อนั้นๆ ซึ่งการจัดลำดับนี้จะทำให้แบรนด์หรือนักการตลาด สามารถวิเคราะห์ได้ว่า Influencer คนไหน เหมาะสมกับแบรนด์และคุ้มค่ากับงบประมาณมากที่สุด
5. รู้เกณฑ์การคัดเลือก Influencers
แบรนด์ต้องค้นหาคุณลักษณะอื่นๆ ที่สำคัญที่ควรมองหาเพื่อให้แคมเปญการตลาดมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด เช่น
- Engagement rate : Engagement Rate บ่งบอกได้ว่าโพสต์ของ Influencer โดนใจผู้ติดตามแค่ไหน โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าอัตราการมีส่วนร่วมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-3 %
- ความถี่ในการโพสต์ : Influencer โพสต์บนหน้าโซเชียลมีเดียบ่อยแค่ไหน? แบรนด์ต้องการทำงานกับคนที่โพสต์เท่าไหร่
- Personality / Tone of voice : Influencer ทุกคนมีบุคลิกและน้ำเสียงเป็นของตัวเอง การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ ให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
6. ต่อรองเรื่องค่าตอบแทน
เมื่อแบรนด์สามารถเลือก Influencer ได้แล้ว แบรนด์จะต้องเจรจาเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ ซึ่งมีค่าตอบแทนหลายประเภทที่แบรนด์สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและงบประมาณการตลาดของแบรนด์
- Gifted product : มอบผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ ให้กับ Influencers เพื่อแลกเปลี่ยนกับการโปรโมท ซึ่งอาจเป็นเนื้อหาประเภทใดก็ได้ เช่น เรื่องราว โพสต์ในฟีด หรือพูดถึงในวิดีโอ เป็นต้น
ในอุตสาหกรรม Influencer การให้ Gifted product ต้องไม่มีข้อผูกมัด ซึ่งหมายความว่า Influencers ไม่จำเป็นต้องโพสต์ เนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน - Affiliate marketing : การตลาดแบบพันธมิตร เป็นกลยุทธ์ที่ใช้บุคคลที่สาม อย่าง Influencer มาช่วยในการโปรโมท ซึ่งจะได้รับ Commission จากการขายเป็นค่าตอบแทนตามการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงค์ การเก็บ Lead หรือจากการคลิกผ่านลิงค์ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของบริษัท ทำให้ได้ประโยชน์ร่วมกันแบบ Win-Win ทั้งฝั่งธุรกิจ และ Creator (อ่าน Affiliate Marketing เพิ่มเติมได้ที่นี่)
- การให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน : แบรนด์จะต้องจ่ายเงินให้ Influencer ตามที่ตกลงกันไว้เพื่อโปรโมทแบรนด์ ซึ่งเนื้อหาต้องมีมากกว่าการโพสต์ภาพถ่ายบน Instagram เนื้อหาแต่ละชิ้นที่สร้างขึ้นต้องมีสไตล์ การถ่ายภาพหรือวิดีโอ การตัดต่อ การเขียนคำโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดในระดับหนึ่ง
นอกจากการตกลงเรื่องค่าตอบแทนแล้ว แบรนด์ต้องพิจารณาเงื่อนไขทางกฎหมายอื่นๆ ของข้อตกลงด้วย Influencer จะผลิตเนื้อหาประเภทใด? แคมเปญนี้จะประกอบด้วยโพสต์เดียวหรือไม่ โพสต์กี่แพลตฟอร์ม? เป็นต้น
7. วิเคราะห์และติดตามผล
เมื่อแคมเปญของแบรนด์เปิดตัว แบรนด์ต้องติดตามผลเพื่อวัดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถวัดได้จากสิ่งเหล่านี้
- Engagement rate : อัตราการมีส่วนร่วมหมายถึงเปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา เทียบกับจำนวนผู้ติดตามในบัญชีโซเชียลมีเดีย ยิ่งอัตราสูงเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น
- Reach : การเข้าถึงวัดจำนวนรวมของผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่ไม่ซ้ำ ซึ่งการเห็นโพสต์ที่ได้รับการสนับสนุนในฟีด ยิ่งเข้าถึงได้มากเท่าไหร่ ผู้คนก็ยิ่งเห็นแคมเปญของแบรนด์มากขึ้นเท่านั้น
- Impressions : คือจำนวนครั้งทั้งหมดที่เนื้อหาที่แสดงบนหน้าโซเชียล การแสดงผลสูงหมายถึงแคมเปญของแบรนด์เข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง
- Views : ตัวชี้วัดนี้ใช้เฉพาะในกรณีที่วิดีโอหรือเรื่องราว จำนวนการดูที่สูงบ่งบอกว่าเนื้อหานั้นน่าดึงดูด
- Sentiment : การมองเห็นและเปรียบเทียบ Feedback อย่างชัดเจน จะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาคุณภาพ และการให้บริการในอนาคตได้อย่างตรงจุด รวมถึงวัดผลตอบรับในทุกแคมเปญที่ปล่อยออกไป เพื่อให้ทางแบรนด์สามารถวิเคราะห์ผลตอบรับที่ได้จากลูกค้า
- Link clicks : ตรวจสอบว่าแคมเปญจาก Influencers มีการเข้าชมมาสู่เว็บไซต์ของแบรนด์มากขึ้นหรือไม่ เพื่อแยกการเข้าชมที่มาจากผู้มีอิทธิพลจากการเข้าชมเว็บปกติอย่างชัดเจน
- Conversions : หากเป้าหมายของแคมเปญของแบรนด์คือการเพิ่มยอดขาย นอกจากจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ที่มาจากแคมเปญแล้ว ต้องดูว่าการเข้าชมเหล่านั้นกลายเป็นยอดขายกี่ครั้ง
- Affiliate code usage : สิ่งที่เราจะได้รับจากการคลิกลิงค์ คือ ข้อมูล (Data) ความสนใจต่อสินค้าและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
- Follower growth : บัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นหลังจากโพสต์หรือไม่? เปรียบเทียบจำนวนผู้ติดตามก่อนและหลังแคมเปญเพื่อดูว่าพวกเขาส่งผลต่อการเติบโตของผู้ติดตามของแบรนด์หรือไม่
การใช้ Influencer Marketing เป็นเหมือนตัวช่วยดึงดูดให้คนจำนวนมากหันมาสนใจและพูดคุยกันเกี่ยวกับแบรนด์มากขึ้น
มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีปฏิสัมพันธ์บนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์
ในอนาคตมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารใดๆ จากแบรนด์ ก็มีโอกาสที่กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับทราบไปด้วย ต่อเนื่องมาจากการจุดประกายความสนใจจาก Influencer ในช่วงก่อนหน้านั่นเอง
Influencer ถือเป็นอีกช่องทางที่ช่วยขยายให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักและช่วยสร้างโอกาสในการขาย
สำหรับท่านใดที่กำลังตามหา Influencer ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณเครื่องมือ DOM มีคำตอบให้คุณแน่นอน!
ด้วยการจัดเรียงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด รู้ว่าคู่แข่งในตลาดกำลังใช้ Influencer คนไหนอยู่ ซึ่งการจัดลำดับนี้จะทำให้แบรนด์หรือนักการตลาด สามารถวิเคราะห์ได้ว่า Influencer คนไหน เหมาะสมกับแบรนด์และคุ้มค่ากับงบประมาณมากที่สุด
ทำความรู้จัก DOM : Social Listening & Social Analytics Tool จาก InsightERA
📌https://www.insightera.co.th/dom/
✓ The right insight at your fingertips.
—————
“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร
สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]