โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน ไม่ว่าจะฝุ่น PM 2.5 ปัญหาน้ำท่วม หรือปัญหาไฟป่า รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่ผู้ประสบพบเจอ
ในโลกทุนนิยม การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ ต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงได้นำมาสู่การสร้างนโยบายหรือวางแผนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน หรือลดการปล่อยมลพิษ เพื่อเป้าหมายในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่หลายๆ ธุรกิจหันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้ แต่ก็มีธุรกิจไม่น้อยเช่นกัน ที่ทำอย่างฉาบฉวย ทำการตลาดสีเขียวแบบปลอมๆ หรือที่รู้จักกันในนาม “Greenwashing”
Greenwashing หรือการฟอกเขียวเป็นโมเดลการตลาดรูปแบบเดียวกับ Rainbow Washing ซึ่งอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นการตลาดประเภทหนึ่งที่ใช้ “ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพื่อโน้มน้าวใจลูกค้าว่าการซื้อสินค้าของแบรนด์จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงการตลาดรูปแบบนี้เป็นเพียงการทำเพื่อภาพลักษณ์เท่านั้น ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาหรือรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างตรงจุด
ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจของลูกค้า : การที่ลูกค้าเชื่อว่าแบรนด์มีการตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และแบรนด์กำลังแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ซึ่ง Greenwashing อาจไม่ได้แก้ปัญหาจริงๆ ทำให้ลูกค้าไม่ได้สนับสนุนแบรนด์ที่ตั้งใจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
เป็นการโฆษณาหรือทำการตลาดที่บิดเบือน : อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าการตลาดรูปแบบนี้เป็นเพียงการทำเพื่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งมีการบิดเบือนหรือรายงานข้อมูลที่เกินจริง เช่น การรายงานผลด้านความยั่งยืนของบริษัทเกี่ยวกับแคมเปญสิ่งแวดล้อม การกระทำเหล่านี้จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของแบรนด์
เป็นการแก้ปัญหาแบบฉาบฉวย : ความพยายามเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งแบรนด์มองเพียงมุมมองเดียวโดยไม่ได้สนใจปัญหาอื่นๆ ที่ตามมา เช่น การเปลี่ยนจากหลอดพลาสติกเป็นหลอดกระดาษเพื่อให้รีไซเคิลได้ แต่ในกระบวนการผลิตหลอดกระดาษยังคงมีขั้นตอนที่นับว่าเป็นการทำลายป่าอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งทั่วไปที่แบรนด์ควรทำ ไม่เพียงแต่การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เรียบง่าย การเลือกใช้สีเขียวบนบรรจุภัณฑ์ หรือการระบุบนฉลากว่า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
ระบุข้อมูลส่วนรักษ์โลกที่ชัดเจน : การทำเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องสามารถระบุข้อมูลทุกอย่างได้อย่างชัดเจน เช่น วัสดุผลิตจากธรรมชาติกี่เปอร์เซนต์ มีการลดการปล่อยคาร์บอนกี่กิโลกรัมต่อปีจากกระบวนการผลิตทั้งหมด เป็นต้น
มีใบรับรองจากองค์กรที่เชื่อถือได้ : การมีใบรับรองจากองค์กรจะเป็นตัวช่วยพิสูจน์ได้ ว่าแบรนด์ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นการฟอกเขียวแบรนด์อย่างแน่นอน เช่น Green Seal ที่ครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, สัญลักษณ์ Marine Stewardship Council สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล, สัญลักษณ์ EnergyStar สำหรับการประหยัดพลังงาน เป็นต้น
ทำการตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : การตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการทำตามข้อปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ไร้สารพิษหรือสารทำลายชั้นบรรยากาศโลก, ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือสามารถนำไปรีไซเคิลซ้ำได้, ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ซ่อมแซมได้แทนการใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น
สุดท้ายแล้ว การที่แบรนด์เปิดเผยอย่างโปร่งใส มีความจริงใจ และสื่อสารได้อย่างชัดเจนถึงเส้นทางการตลาดตามแนวคิดเรื่องความยั่งยืน ย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่าการบอกเล่าด้วยการโฆษณาอย่างเดียว เพราะไม่เพียงแต่เป็นการหลอกหลวงลูกค้า แต่อาจเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิมได้
✓ The right insight at your fingertips.
—————
“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร
สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติมhttps://www.insightera.co.th/contact-us/Email : [email protected]
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา