SHARES:

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในโลกปัจจุบันและการเปลี่ยนผ่านเจเนอเรชันใหม่ ที่เรียกว่า Gen Z หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1996 – 2010 ทำให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค

แล้วอะไรทำให้ Gen Z ถึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการทำการตลาด?

สาเหตุที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด นั่นเป็นเพราะช่วงวัยนี้ เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อม Digital และ Social Media ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือประชากรในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาใช้เวลาอยู่กับ “หน้าจอ” เป็นส่วนมาก

และอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ Gen Z เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด เพราะเป็นวัยที่มีกำลังซื้อมากและเป็นวัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้น การเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง!

เพื่อไม่ให้เป็นการตกเทรนด์ อินไซท์เอราขอเสนอ 5 Tips พิชิตใจ Gen Z ที่จะไม่ทำให้คุณพลาดการตลาดสมัยใหม่ในโลกดิจิทัล 

1.เรื่องขำขันที่สอดแทรกไปด้วยคุณค่า

ในยุคที่ทุกอย่างล้วนเต็มไปด้วยความความจริงจัง การทำเนื้อหาการตลาดที่มีอารมณ์ขันจะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่ง Gen Z ก็เหมือนกับพวกเราหลายคนที่ชอบเนื้อหาที่มีอารมณ์ขัน ลองนึกถึงวิดีโอ TikTok ตลกๆ ที่คุณอดไม่ได้ที่จะแชร์กับเพื่อนๆ

เนื้อหาที่เป็นเรื่องสนุกในการรับชม มักสร้างการเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างผู้ที่รับชมและผู้สร้างเนื้อหาได้มากกว่า นี่อาจเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ต่างๆ ที่จะเชื่อมโยงกับคน Gen Z เพราะหากแบรนด์สามารถทำให้ผู้รับชมหัวเราะได้ ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นจดจำได้มากขึ้น

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของการทำตลาดรูปแบบนี้มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
TikTok ของ Duolingo มีการใช้มาสคอตในวิดีโอพร้อมคำบรรยาย โดยการตามกระแสไวรัลอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์นี้ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ Gen Z จำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงกับแบรนด์และการดาวน์โหลดแอปมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

2.“สร้างแรงจูงใจ” ในการซื้อสินค้าหรือบริการ

การที่ลูกค้าจะมีการซื้อผลิตภัณฑ์ ต้องมีเหตุหรือแรงจูงใจ แบรนด์ต้องนำเสนอขายและรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าให้เป็นระยะเวลานานเพื่อสร้างความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขาย โดยเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ที่มีการนำปัจจัยในเรื่องของแรงจูงใจเข้าไปเกี่ยวข้องผ่านช่องทางออนไลน์หรือการนำเสนอที่น่าสนใจ

แรงจูงใจที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง

  • ความสะดวกสบาย (Handiness) ในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
  • การใช้งานของตัวสินค้า (Efficiency in Operation or Use)
  • สามารถใช้ประโยชน์ได้หลาย ๆ ทาง (Dependability in Use)
  • สินค้าที่มีบริการมีคุณภาพที่มีคุณภาพ (Reliabiliy of Auxiliary Services)
  • สามารถเพิ่มรายได้ (Enhancement of Earning)
  • ความคงทนถาวร (Durability) 
3.ทำให้เนื้อหากระชับและสั้น

ในโลกปัจจุบัน Gen Z สามารถเข้าถึงทุกสิ่งได้ง่ายๆ ทำให้คุ้นเคยกับการได้รับคำตอบอย่างรวดเร็วและมีทุกสิ่งอยู่ใกล้แค่เอื้อม หัวใจสำคัญของการทำคอนเทนต์สำหรับคน Gen Z จึงเป็นการทำให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย เช่น โพสต์รูปภาพหรืออินโฟกราฟิกบน Instagram ผู้ชมจะสามารถเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อในพริบตาเดียว
เมื่อสร้างวิดีโอสำหรับ TikTok หรือ Instagram Reels วินาทีแรกนั้นสำคัญที่สุด วิดีโอมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ผู้คนต้องการดูซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อจับทุกรายละเอียด ไม่เพียงดึงดูดความสนใจของผู้คน แต่ยังเพิ่มการมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถช่วยอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มได้

ซึ่งนี่ไม่ได้หมายความว่า Gen Z ไม่สามารถจัดการกับเนื้อหาที่ยาวกว่านี้ได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มและสถานการณ์ เช่น หากต้องการไอเดียเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ก็อาจไปที่ YouTube วิดีโอส่วนใหญ่จะยาวกว่านั้น สิ่งสำคัญคือการทำให้ผู้คนสนใจเนื้อหา ไม่ว่าจะผ่านการตัดต่อที่สวยงาม วิดีโอบล็อกตลกๆ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 

4.ให้ความสำคัญกับความถูกต้องและโปร่งใส

เมื่อแบรนด์เปิดกว้างและซื่อสัตย์กับผู้ชม แบรนด์จะสามารถสร้างฐานความไว้วางใจที่แข็งแกร่งได้ อย่างที่รู้กันดีว่า “ความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญต่อความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือในการทำงาน

จากการศึกษาของ McKinsey ในปี 2018 พบว่า Gen Z มองหาความจริงอยู่เสมอ ทั้งในชีวิตส่วนตัวและในแบรนด์ที่พวกเขาเลือกมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับคุณค่าที่ผลิตภัณฑ์และแบรนด์เป็นตัวแทนด้วย

การเป็นแบรนด์ที่โปร่งใส ต้องซื่อสัตย์เกี่ยวกับค่านิยม การกระทำ และคำสัญญากับแบรนด์ ซึ่งจะเป็นการแสดงให้ Gen Z เห็นว่าแบรนด์นั้นน่าเชื่อถือและเข้าถึงได้ เพราะความถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่เคยล้าสมัย 

5.ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม

Gen Z มีแนวโน้มที่จะช้อปปิ้งกับร้านค้าออนไลน์หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของแบรนด์มากกว่าคนรุ่นอื่นๆ มากถึง 2 เท่า มีการใช้งานหลายแพลตฟอร์มและหลายหน้าจอ ซึ่งพฤติกรรมในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความแตกต่างกันไป

แบรนด์ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารนั้นพร้อมใช้งานได้ทุกเวลาและทุกที่ที่ต้องการหรือไม่ รวมถึงการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ควรแชร์เนื้อหาเดียวกันบน Facebook เหมือนกับที่แชร์บน Instagram กล่าวคือ ควรปรับแต่งเนื้อหาให้เข้าพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละแพลตฟอร์ม 

นอนาคตการทำตลาดสู่ Gen Z จะต้องมีการผสมผสานระหว่างกลยุทธ์ทางดิจิทัลและทางกายภาพ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการขายให้กับ Gen Z เท่านั้น แต่รวมถึงการสร้างประสบการณ์แบรนด์ที่ตรงกับความต้องการ เพิ่ม Value และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอีกด้วย 
 

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightERA” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]