SHARES:
ใกล้เข้ามาแล้ว กับกระแส “การเลือกตั้งทั่วไป 2566” ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะได้เดินเข้าคูหา เลือกคนที่ใช่พรรคที่ชอบ

แม้ว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ แต่ถ้าเทียบดูข้อมูลประชากรไทยกลับพบว่า กลุ่มผู้กำหนดชะตาประเทศผ่านการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พฤษภาคมนี้ พบว่า คนในกลุ่ม Generation X, Y และ Z กุมสัดส่วนมากกว่า 70% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มองว่า “ช่องว่างระหว่างวัย (generation gap)” จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งจากผลวิจัยบอกว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะเดินเข้าคูหาเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนอีกด้วย (Source : BBC News)

วันนี้อินไซท์เอราจะชวนทุกคนมาดูการวิเคราะห์ประชากรไทยในแต่ละ Generation ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนด อนาคตของประเทศไทยอันใกล้นี้กันค่ะ

“ตัวเลขประชากรไทย” ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

จากข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง Update ล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2565
ประชากรไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 66,090,475 คน โดยแบ่งเป็น
ประชากรเพศชาย 32,270,615 คน
ประชากรเพศหญิง 33,819,860 คน 

หากนับเฉพาะผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีสัญชาติไทย มีจำนวน 64,867,433 คน
จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด จะสามารถแยกผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เป็นจำนวน 52,322,824 คน
Generation Z: ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 6,689,453 คน คิดเป็น 12.78%
Generation Y: ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 15,103,892 คน คิดเป็น 28.87%
Generation X: ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 16,151,442 คน คิดเป็น 30.87%
Baby Boomers: ผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 11,844,939 คน คิดเป็น 22.64%
Silent: ผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 2,533,098 คน คิดเป็น 4.84%

ส่องชุดความคิด และปัจจัยที่เป็นตัวแปรการเลือกตั้ง 

Silent และ Baby Boomers Gen
คนกลุ่มนี้ ผ่านการเมืองและสังคมคล้ายกัน มีทัศนคติทางสังคมจะมีแนวโน้มไปทางกลุ่มอนุรักษนิยม แต่ทัศนคติทางด้านการเมืองก็จะมีความแตกต่างกัน
โดยจะมีกลุ่มของคนที่ต้องการประชาธิปไตย(คนเสื้อแดง) และกลุ่มอนุรักษนิยม(เสื้อเหลือง) ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจะเลือกพรรคไหน
แต่จากอายุและสุขภาพร่างกายที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เป็นอุปสรรคในการออกไปใช้สิทธิ์ก็อาจทำให้ทิศทางการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปได้

Gen X และ Gen Y ตอนต้น
กลุ่ม Gen X และGen Y ตอนต้น มีความคล้ายกัน คือ เป็นกลุ่ม Swing Voters
เป็นกลุ่มที่มีความสนใจทางการเมืองน้อยกว่ากลุ่มอื่น เพราะเติบโตมาในช่วงเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ มักมีชุดความคิดที่ว่าเลือกพรรคการเมืองใดก็ต้องทำงานหนักต่อไป
จึงทำให้การวิเคราะห์ทิศทางการเลือกตั้งเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีแนวโน้มจะไปในทางเสรีนิยมเพิ่มมากขึ้น จากการเรียนรู้ในอดีต

Gen Z และ Gen Y บางส่วน
กลุ่ม Gen Z และ Gen Y ตอนต้น เป็นกลุ่มที่มีเด็กจนถึงอายุ 30 ปีตอนต้น เป็นกลุ่มที่เติบโตมาในช่วงของความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดจากฝ่ายอนุรักษนิยม ไม่ได้มีประสบการณ์ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู ทำให้มีแน้วโน้มความคิดเป็นไปในทางเสรีนิยมมากกว่าอนุรักษนิยม จึงมีความตื่นตัวที่จะไปใช้สิทธ์ในการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้ประเทศขับเคลื่อนและมีสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีต ซึ่งอนาคตอันใกล้เศรษฐกิจการเมืองไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป สุดท้ายแล้วต้องตัดสินกันที่การสื่อสารนโยบาย ของบรรดาพรรคการเมือง ว่าจะสามารถดึงดูดผู้คนได้อย่างไร นอกจากจะต้องโดนใจ สามารถทำได้จริง และที่สำคัญต้องยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยได้จริง 

14 พฤษภาคมนี้ อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์ ใช้เสียงของตัวเอง เพื่ออนาคตที่เราสามารถเลือกเองได้นะคะ~

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]