SHARES:
ในปี 2022 มีเหตุการณ์รวมถึงข่าวต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายตลอดทั้งปีนี้

อินไซท์เอราจึงขอนำเสนอสถิติที่น่าสนใจ ซึ่งเราได้เคยจัดทำไว้มาสรุปกันอีกสักรอบ โดยหลากหลายเหตุการณ์ที่เราได้นำเครื่องมือ DOM : Social Listening & Social Analytics Tool พัฒนาโดย InsightEra มาใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลลัพธ์ออกมาเป็นสถิติที่น่าสนใจ ซึ่งในช่วงปี 2022 จะมีเรื่องไหนบ้างมาดูกันเลยค่ะ

เริ่มต้นกับข่าวช็อกวงการรับต้นปี กับการสูญเสียนักแสดงสาวชื่อดังมากความสามารถของวงการบันเทิงไทยอย่าง “คุณแตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์” ได้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกเรือสปีดโบ๊ตจมหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่เวลา 5 ทุ่มครึ่งของวันที่ 24 ก.พ. ซึ่งข่าวนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคมไทยและสื่อมวลชนอย่างล้นหลาม

โดยหนึ่งในรายการที่มีชื่อเสียงอย่างรายการ “โหนกระแส” ได้มีการนำเสนอข่าวของคุณแตงโมเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ซึ่งในช่วงนั้นบนโลกออนไลน์มีการพูดถึงรายการเป็นจำนวนมาก แค่คำว่า “โหนกระแส” ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ในช่วงที่รายงานนำเสนอข่าวคุณแตงโม (25 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 16.00 น.) ได้รับความสนใจบนโซเชียลมีเดีย สูงกว่า 4 ล้าน Engagement เลยทีเดียว

และทาง Google Thailand ได้เปิดเผยข้อมูลคำค้นหา ‘ข่าว’ ยอดนิยม โดยคำว่า “ข่าวแตงโมล่าสุด” ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของปีนี้ และการค้นหาชื่อบุคคลที่เสียชีวิต “แตงโม นิดา” ขึ้นคำค้นหาเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในปีนี้อีกเช่นกัน

แม้หลายคนยังมีคำถามและข้อสงสัยในการเสียชีวิตอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันความคืบหน้าของคดีข่าวการเสียชีวิตของคุณแตงโม นิดา ยังเข้าสู่ในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลจังหวัดนนทบุรี โดยศาลเตรียมนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเพิ่มเติม โดยกำหนดกรอบระยะเวลาการสืบพยานยาวนานถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2567

ไวรัลสุดฮิต “จุดแข็ง-จุดอ่อน”
เชื่อว่าทุกคนน่าจะจำช่วงที่ คนบนโซเชียลฮิตเล่นมุก จุดแข็ง-จุดอ่อน กันเต็มหน้าฟีด

ในสื่อสังคมออนไลน์มีการกล่าวถึงไวรัลจุดแข็ง จุดอ่อน จำนวน 21,611 ข้อความ ได้รับ 4,628,032 Engagement เฉลี่ย 214 Engagement ต่อข้อความ
โดยที่มาของไวรัลนี้ เริ่มต้นจากการโพสต์ข้อความเล่าประสบการณ์ในการสัมภาษณ์งาน ผ่านช่องทาง Twitter โดยมีคำถามถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้สมัครงาน ซึ่งคำตอบของผู้โพสต์กลับเป็นที่ถูกใจของชาวโซเชียล จึงทำให้ได้รับการรีทวิตเป็นจำนวนมาก และเริ่มมีคนโพสต์ข้อความถึง จุดแข็งจุดอ่อน ตาม ทั้งในกลุ่มบุคคลทั่วไป Influencer รวมไปถึงแบรนด์ต่างๆ ส่งผลให้ จุดแข็ง จุดอ่อน กลายเป็นไวรัล ในช่วงวันที่ 11 มี.ค. 65 เป็นต้นมา

สำหรับช่องทางในการสื่อสารและผลตอบรับของ ไวรัล “จุดแข็ง จุดอ่อน” พบว่า Twitter เป็นช่องทางหลักที่ได้รับ Engagement มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นโพสต์จากบุคคลทั่วไปที่ร่วมสนุกกับไวรัล โดยเนื้อหาเป็นการพูดถึงหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องการเงิน ความรัก และ K-Pop เป็นต้น โดยโพสต์ที่ได้รับ Engagement มากที่สุด ในช่องทาง Twitter คือโพสต์ที่เป็น จุดเริ่มต้นของไวรัส ซึ่งเป็นการบอกเล่าคำถามที่เจอในตอนสัมภาษณ์ โดยเป็นการ
ถ่ามถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของผู้สมัคร ซึ่งคำตอบที่เป็นที่ถูกใจทำให้ได้รับ Engagement ค่อนข้างสูง (115,368 Engagement คิดเป็น 4.0% ของช่องทาง Twitter)

โพสต์ที่ได้รับ Engagement สูงสุดขณะนั้น มาจากช่องทาง Facebook โดยเป็นโพสต์ ขายหมูแท่งเญ่าจากเพจเท่ง เถิดเทิง แฟนคลับ (232,125 engagement) ซึ่งเป็นโพสต์ในลักษณะข้อความที่มีเนื้อหาตลก ถูกใจผู้คนที่เห็นโพสต์ ทำให้ได้รับ Engagement ที่สูงและโดดเด่นกว่าโพสต์อื่น และตามมาด้วยโพสต์จากแบรนด์ต่างๆที่ค่อนข้างได้รับความสนใจสูงเช่นกัน

ส่องศึกเลือกตั้ง…ผู้ว่าฯ กทม. ที่ประชาชนไทยร่วมเกาะติดสถานการณ์ รวมถึงติดตามเวทีดีเบตที่ถ่ายทอดมุมมอง แนวคิดของแต่ละผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จากรายการต่างๆ พร้อมความหวังที่จะเห็นการพัฒนาศักยภาพเมืองในทุกมิติ

โดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 11 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯครั้งแรกในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556
จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 4,402,948 คะแนนเสียง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,673,696 คะแนนเสียง นับเป็น 60.73%

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หมายเลข 8 ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 1,386,215 ล้านเสียง นับเป็น 51.84% เลยทีเดียวค่ะ

ซึ่งในช่วงที่อยู่ระหว่างรอการเลือกตั้งที่จะมาถึง ทางอินไซท์เอรา ได้มีการเก็บข้อมูล ผ่านช่องทาง Social Media สำรวจและสรุปผลลัพธ์ โดย DOM Analytics ด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครทั้ง 31 หมายเลข ในวันที่ 20 – 21 พฤษภาคม เวลา 12.00 น.

จากการสรุปข้อมูลในโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง เพียง 1-2 วัน มีการพูดถึงผู้สมัคร รวมกันกว่า 19,642 ครั้ง และเกิดการมีส่วนร่วมมากกว่า 1,523,032 Engagement

ผู้สมัครที่มีการถูกพูดถึง (Mentioned) บน Social Media มากที่สุด ได้แก่
อันดับที่ 1 จำนวน 35.47% (8,692 ครั้ง) คือ หมายเลข 8 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
อันดับที่ 2 จำนวน 22.25% (5,452 ครั้ง) คือ หมายเลข 1 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
อันดับที่ 3 จำนวน 16.61% (4,071 ครั้ง) คือ หมายเลข 4 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
อันดับที่ 4 จำนวน 8.34% (2,044 ครั้ง) คือ หมายเลข 3 สกลธี ภัททิยกุล
อันดับที่ 5 จำนวน 6.48% (1,587 ครั้ง) คือ หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
อันดับที่ 6 จำนวน 5.62% (1,377 ครั้ง) คือ หมายเลข 7 รสนา โตสิตระกูล
อันดับที่ 7 จำนวน 4.49% (1,099 ครั้ง) คือ หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี
อันดับที่ 8 จำนวน 0.16% (40 ครั้ง) คือ หมายเลข 22 วรัญชัย โชคชนะ
และลำดับอื่นๆรวมกันอยู่ที่ 0.58%

ในส่วนของการมีส่วนร่วม (Engagement) ไม่ว่าจะเป็นการ Like, Comment หรือ Share บนโพสต์ที่เกี่ยวข้องบน Social Media จากยอดรวมกว่า 1,523,032 Engagement ผู้ที่ได้รับความสนใจสูงสุด
อันดับที่ 1 จำนวน 706,001 Engagement คือ หมายเลข 8 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
อันดับที่ 2 จำนวน 299,989 Engagement คือ หมายเลข 7 รสนา โตสิตระกูล
อันดับที่ 3 จำนวน 290,471 Engagement คือ หมายเลข 1 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

ข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติจาก Social Media รวบรวมจากหลากหลายช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, Youtube, Pantip, Blockdit และ Website โดยมาจากช่องทาง
Facebook – 11,142 Mention และ 925,867 Engagement
Twitter – 8,051 Mention และ 567,313 Engagement
จากช่องทางอื่นๆ (others) – 449 Mention และ 29,852 Engagement

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากเครื่องมือ DOM
ที่บอกแนวโน้มเสียงบนโลกออนไลน์ ว่ามีการพูดถึงผู้สมัครในอารมณ์เชิงบวก หรือลบ

เชิงบวก (Positive) – 3,831 Mention และ 416,838 Engagement
ไม่เจาะจง (Neutral) – 13,711 Mention และ 946,749 Engagement
เชิงลบ (Negative) – 2,100 Mention และ 159,445 Engagement

ซึ่งเห็นได้ชัดเลยว่า ข้อมูลจาก DOM ที่สรุปสถิติการพูดถึงของผู้สมัครบนโลกออนไลน์ มีผลลัพธ์ในลำดับที่ใกล้เคียงกับผลการเลือกตั้งจาก 2,673,696 คะแนนเสียงทั่วประเทศ 

ดังนั้นการพูดถึงและความสนใจที่เกิดขึ้นบนทั้งหมด Social Media ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยวัดกระแสสังคมบนโลกออนไลน์ รวมทั้งแนวโน้มในการพูดถึง ทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาต่อยอด รวมถึงการจัดการกับปัญหา Crisis ที่สามารถเข้าไปจัดการได้อย่างทันท่วงที

กระแสโซเชียล กับปัญหา #ค่าไฟแพง
“อยู่บ้านก็เปลืองค่าไฟ ออกไปก็เปลืองค่าน้ำมัน”
โพสต์ที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันบนช่องทางออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหารอบด้านในสิ่งที่คนส่วนใหญ่พบเจอในสถานการณ์ปัจจุบันนี้

จากประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. “ด้วยค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ประมาณการค่า FT ในช่วงเดือน พ.ค. ถึงเดือน ส.ค. เพิ่มสูงขึ้น
โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้มีประกาศขึ้นค่าไฟ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน อยู่ที่ 4 บาท/หน่วย
แต่ล่าสุดนี้ ทาง กกพ. มีประกาศใหม่ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน คาดว่าค่าไฟรอบปลายปี (ก.ย.- ธ.ค.2565) อาจมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 40 สตางค์ต่อหน่วย”

เปิดสถิติพฤติกรรมคนไทย หลังจาก กกพ. ประกาศปรับขึ้นค่าไฟ ได้มีกระแสบนโลกโซเชียลเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งแนวโน้มการพูดถึงและความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงลบ

จากผลสำรวจโดยการเก็บข้อมูล ผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ Social Media ด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ’การปรับขึ้นค่าไฟ’ สำรวจและสรุปผลลัพธ์ โดย DOM Analytics (https://www.insightera.co.th/dom/)

เริ่มวัดผลลัพธ์ตั้งแต่วันที่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 23 มิถุนายน 2565
โดยมีการพูดถึง Keyword ที่เกี่ยวข้องรวมกันกว่า 169 ครั้ง
และเกิดการมีส่วนร่วมมากกว่า 27,141 Engagement

อินไซท์เอรา จึงขอนำเสนอสถิติส่วนหนึ่งที่น่าสนใจจากกระแสนี้โดยตรง
นั่นคือแนวโน้มการพูดถึง วิธีการช่วย’เซฟค่าไฟ’ จากชาวโซเชียลมีเดีย

เสียงส่วนใหญ่คิดว่า หนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กระทบกับค่าไฟมากที่สุด นั่นคือ เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ นั่นเอง โดยไอเดีย ‘ช่วยลดค่าไฟฟ้า’ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด นับตามการมีส่วนร่วม (Engagement) มีดังนี้
28.01% มีแนวโน้มออกจากบ้าน ไปใช้ไฟในพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ส่วนร่วม เพื่อลดการใช้ไฟในบ้านให้ได้มากที่สุด แต่ทั้งนี้เสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้สำหรับผู้ที่ใช้รถก็พบปัญหาค่าน้ำมันแพงอีกเช่นกัน
15.47% มีแนวโน้มจะเปิดแอร์ให้น้อยลง เลือกเปิดใช้งานเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทั้งนี้การลดค่าไฟจากแอร์ มีหลายโพสต์ที่แนะนำให้ลองเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น 27 องศา ควบคู่ไปกับการเปิดพัดลมเบาๆ เพื่อคงความเย็นและช่วยประหยัดค่าไฟ
4.36% ติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทนไฟจากการไฟฟ้า
0.03% มีบางส่วนที่พูดถึงการเปลี่ยนขนาดแอร์ หรือเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้องที่ใช้งาน เพราะเมื่อคำนวนระยะยาวแล้ว จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่า
และในสัดส่วนสูงที่สุด 52.13% ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐสำหรับประชาชนทั่วไป และทางรัฐควรออกนโยบายเพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์นี้

ซึ่งการปรับขึ้นราคาค่าไฟในปีนี้ จากเสียงบนโลกออนไลน์ที่แสดงออกถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างหลากหลายแนวทาง
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงแนวโน้มการพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาน้ำมันรถยนต์ พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะที่ลิตรละ 50บาท
ช่วงปีหลังมานี้ คนส่วนใหญ่จึงเริ่มหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่น้ำมันขึ้นราคา แล้วล่าสุดค่าไฟยังขึ้นราคาอีก คงต้องดูแนวโน้มต่อไปว่า หลังจากนี้สถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ และผู้บริโภคควรปรับตัวและรับมือกับสถานนี้อย่างไรต่อไป

“Pride Month” เดือนแห่งความภูมิใจ ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ทั่วโลกพร้อมให้ความสำคัญ

LGBTQIA+ และ LGBTQIAN+ กลายเป็นคำที่ได้รับความสนใจ และถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงเดือน มิถุนายน เดือนแห่ง Pride Month ที่ผู้คนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ต่างออกมาแสดงสัญลักษณ์ “ธงสีรุ้ง” (Rainbow Flag) อันเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ “LGBTQIA+” เพื่อขับเคลื่อนให้มีการยอมรับในกลุ่ม LGBTQ โดยเป็นการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคม

จากเดิมที่การใช้ตัวอักษรย่อแทนคำเรียกเพศวิถีต่างๆ เช่น LGBT หรือ LGBTQ+ อาจยังไม่ครอบคลุมความหลากหลายทางเพศที่มีมากขึ้น จึงมีการใช้คำว่า LGBTQIA+ และ LGBTQIAN+ ซึ่งเป็นการเติมตัวอักษรเพิ่มเข้าไป เพื่อย้ำให้เห็นถึงความหลากหลายที่มีมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน

ซึ่งประเด็นสำคัญของเดือน Pride Month นอกจากจะสร้างความภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศแล้ว ยังถือเป็นการขับเคลื่อนสังคม ที่สะท้อนถึงความสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้อีกด้วย

จากผลสำรวจล่าสุด โดยการเก็บข้อมูล ผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ Social Media ด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ “Pride Month” และ “LGBTQIAN+ ”
สำรวจและสรุปผลลัพธ์ โดย DOM Analytics (https://www.insightera.co.th/dom/)

👉 เริ่มวัดผลลัพธ์ตลอดเดือน ‘Pride Month’ ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2565
โดยมีการพูดถึง Keyword ที่เกี่ยวข้องรวมกันกว่า 4,529 ครั้ง
และเกิดการมีส่วนร่วมมากกว่า 6,261,594 Engagement

ประเด็นบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับการร้องเรียนสิทธิให้ชาว LGBTQIAN+ ได้รับการยอมรับ และได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียม ได้แก่
3,771,041 Engagement 🌈 สมรสเท่าเทียม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ในการแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
504,008 Engagement 🌈 “บางกอก นฤมิตไพรด์” ไพรด์พาเหรดครั้งแรกของกรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ และเฉลิมฉลอง Pride Month
280,378 Engagement 🌈 การยอมรับทางสังคม และคนใกล้ตัว เช่น เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว โดยไม่ถูกเลือกปฎิบัติ
263,636 Engagement 🌈 มีสิทธิ์ในการเลือกใช้คำนำหน้า หรือไม่ระบุคำนำหน้าได้
236,457 Engagement 🌈 ไม่ถูกจำกัดในสายงานหรือสายอาชีพ และได้รับการพิจารณาสมัครงานอย่างเท่าเทียม
23,349 Engagement 🌈 ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร อย่างการมอบสินเชื่อบ้านสำหรับคู่ชีวิต LGBTQIAN+
และนี่เป็นเพียงข้อมูลส่วนนึงที่ อินไซท์เอรา ได้ดึงขึ้นมานำเสนอ ซึ่งยังมีอีกหลากหลายหัวข้อ ที่คนทั่วโลก ต้องการให้ชาว LGBTQIAN+ ได้รับความเท่าเทียมจากทุกสังคม

อินไซท์เอรา ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสะท้อนปัญหาที่ชาว LGBTQIAN+ ยังคงพบเจออยู่ในปัจจุบัน และขอเคารพการที่ทุกคนได้มีสิทธิเลือกความเป็นตัวเอง โดยได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

ประเด็น #แอพธนาคารล่ม เปิดสถิติเสียงจากผู้บริโภค Customer Voice

“ข้อเสียของการไม่พกเงินสดเลย เเล้วแอปธนาคารล่ม อาจทำให้รู้สึกเป็นขอทานชั่วคราวได้เหมือนกันนะ”
ตัวอย่างโพสต์ที่ได้รับความนิยมบนช่องทาง Twitter ที่ถูกรีทวิตมากกว่า 6 หมื่นครั้ง

จากกระแสบนโลกโซเชียลมีเดียในเดือนที่ผ่านมา กระแสที่ดุเดือดสุดๆ คงหนีไม่พ้นประเด็น “แอพธนาคาร” ที่ล่มแล้ว ล่มอีก

หลังจากที่ เกิดความขัดข้องของระบบ Mobile Banking Application ของธนาคารหลายเจ้า ตลอดทั้งเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ที่ผู้ใช้งานและชาวโซเชียลมีเดียต่างพร้อมใจ กระหน่ำติด Hashtag #TTBล่ม #SCBล่ม #กรุงเทพล่ม #กรุงไทยล่ม แทบตลอดทั้งเดือน

จากผลสำรวจล่าสุด โดยการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ Social Media ด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ ‘การล่มของระบบแอพธนาคาร’
สรุปผลลัพธ์ โดย DOM Analytics (https://www.insightera.co.th/dom/)

โดยเริ่มเก็บสถิติตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2565
ทั้งนี้เครื่องมือ DOM พบว่ามี 4 ธนาคารชื่อดัง ที่ถูกพูดถึงใน’เชิงลบ’บนโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
จากการตรวจสอบเสียงส่วนใหญ่พบว่ามีการพูดถึง การขัดข้องเกี่ยวกับระบบ Application ของธนาคาร ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าทำรายการธุรกรรมการเงินใน Application ของธนาคารได้

ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนครั้งในการล่มของระบบธนาคาร ยึดตามวันที่มีกระแสการถูกพูดถึงเป็นจำนวนมาก โดยวัดจาก Keyword ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ‘การล่มของแอพธนาคารนั้นๆ’ มีสถิติดังนี้

▪ ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) “ระบบล่มทั้งหมด 5 ครั้ง” (ในวันที่ 01/06/2022 , 05/06/2022 , 20/06/2022 , 27/06/2022 , 30/06/2022)
ช่องทางออนไลน์ถูกพูดถึงทั้งหมด 4,638 ครั้ง และคนมีส่วนร่วมมากถึง 50,672 Engagement

▪ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) “ระบบล่ม ทั้งหมด 3 ครั้ง” (ในวันที่ 07/06/2022 , 11/06/2022 , 01/07/2022)
ช่องทางออนไลน์ถูกพูดถึงทั้งหมด 3,161 ครั้ง และคนมีส่วนร่วมมากถึง 64,846 Engagement

▪ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) “ระบบล่ม ทั้งหมด 2 ครั้ง” (ในวันที่ 16/06/2022 , 30/06/2022)
ช่องทางออนไลน์ถูกพูดถึงทั้งหมด 6,610 ครั้ง และคนมีส่วนร่วมมากถึง 212,428 Engagement

▪ ธนาคารกรุงไทย (KTB) “ระบบล่ม ทั้งหมด 1 ครั้ง” (ในวันที่ 16/06/2022)
ช่องทางออนไลน์ถูกพูดถึงทั้งหมด 3,095 ครั้ง และคนมีส่วนร่วมมากถึง 47,722 Engagement

ซึ่งปัจจุบันแต่ละธนาคารก็ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบ เพื่อให้ผู้บริโภคกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยที่ทุกธุรกรรมจะได้รับการดูแลและดำเนินการอย่างถูกต้องเรียบร้อย

จากเหตุการณ์นี้ เห็นได้ชัดเลยว่า เสียงจากผู้บริโภค หรือ Customer Voice แม้จะได้รับการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว แต่ความคิดเห็นในเชิงลบยังคงอยู่บนออนไลน์ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าความคิดเห็นเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์

ดังนั้นการจัดการปัญหาได้ทันท่วงที และการเตรียมความพร้อมด้าน Crisis Management ยิ่งรวดเร็วเท่าไร ยิ่งส่งผลดีต่อแบรนด์มากขึ้นเท่านั้น
เพราะสำหรับโลกออนไลน์ เพียงแค่ 1 นาที อาจสร้างข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อแบรนด์มากมายมหาศาลได้เลยทีเดียว

จากสถิติคอนเทนต์ที่เป็น วิดีโอสั้น (Short-Form Video) ที่มีความยาวไม่เกิน 60 วินาที มีอัตราการเติบโตมากถึง 135% เมื่อเทียบกับปี 2021 และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Source: Tubular Labs)
รูปแบบของ Short-Form ยุคนี้ต้องเน้นการทำ Content แบบ Simple & Short เน้นเข้าใจง่าย และกระชับเข้าไว้ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับ Content ทุกรูปแบบเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ VDO Content แทบจะครองทุก Social Media Platform
จากที่เห็นว่า Platform เจ้าใหญ่อย่าง Facebook & Instagram กับการนำฟีเจอร์ “Stories” มาเป็นจุดเด่นของ Application ให้ผู้ใช้งานได้บอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ ผ่าน VDO สั้นๆ
รวมถึง VDO Platform ยักษ์ใหญ่อย่าง Youtube เองก็เล็งเห็นความสำคัญของ Short VDO ที่กำลังมาแรง และได้ออกฟีเจอร์ใหม่ “Shorts” บนช่องทาง Youtube เพื่อเปิดประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้รับชมวิดีโอแบบใหม่ในลักษณะของวิดีโอสั้นๆ ความยาวไม่เกิน 60 วินาที

โดยเฉพาะ Short VDO Platform น้องใหม่ที่มาแรงที่สุดในปีที่ผ่านมาอย่าง “TikTok”
ที่ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน (Monthly Active User) ทะลุ 1,000 ล้านคนทั่วโลกไปเรียบร้อย เฉพาะในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย ที่มียอดผู้ใช้เติบโตกว่า 85% ต่อปี รวมยอดผู้ใช้งานมากถึง 240 ล้านต่อเดือน!

โดย Statista บริษัทวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาด เผย 10 ประเทศที่มีบัญชีผู้ใช้งาน ติ๊กต็อก (TikTok) มากที่สุดในโลก ปี 2022 ไว้ดังนี้ 
1.สหรัฐอเมริกา 136 ล้านคน
2.อินโดนีเซีย 99 ล้านคน
3.บราซิล 74 ล้านคน
4.รัสเซีย 51 ล้านคน
5.เม็กซิโก 51 ล้านคน
6.เวียดนาม 46 ล้านคน
7.ฟิลิปปินส์ 40 ล้านคน
8.ไทย 38 ล้านคน
9.ตุรกี 29 ล้านคน
10.ปากีสถาน 24 ล้านคน

ซึ่งจากสถิติปี 2022 ประเทศไทยมีบัญชีผู้ใช้งาน TikTok มากถึง 38 ล้านคน ทำสิถิติเป็นอันดับ 8 ของโลกเลยทีเดียวค่ะ

สำหรับนักการตลาด แบรนด์ และชาว Content Creator ทั้งหลาย แน่นอนว่า Short-Form Video ได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดตลอดปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆในอนาคต
เพราะ “วิดีโอสั้น” มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือการส่งต่อการสื่อสารที่กระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมได้ดีกว่า Content รูปแบบอื่นๆ และยังช่วยเพิ่มโอกาสพาคนเข้ามาในช่องทางหลักได้อีกด้วย

ฟุตบอลโลก 2022 หรือ FIFA World Cup 2022 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติของทุกชาติสมาชิกฟีฟ่าที่จะจัดขึ้นทุกสี่ปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 22 จัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง 18 ธันวาคม 2022 รวมระยะเวลา 28 วัน

ซึ่งคู่ชิงชนะเลิศ เป็นการเจอกันระหว่าง อาร์เจนตินา กับ ฝรั่งเศส ที่เป็นแชมป์เก่า
และสุดท้ายจบเกม อาร์เจนตินา เสมอ ฝรั่งเศส ต้องไปสู้กันต่อในช่วงต่อเวลาพิเศษ จบที่ผลบอล 3-3 (จุดโทษ 4-2)

จากผลการยิงจุดโทษ อาร์เจนตินา ชนะด้วยการยิงจุดโทษ สกอร์รวม 7-5 คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2022 ไปครอง และเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 3 ของยอดทีมแห่งอเมริกาใต้

ซึ่งด้วยระยะเวลาร่วมเดือนในการแข่งขัน และความดุเดือดของการแข่งขันในคู่นัดสุดท้าย จึงทำให้ #ฟุตบอลโลก2022 ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ของประเทศไทย ภายในระยะเวลา 1 ชม. มีการ Tweets สูงถึง 1.2 ล้าน บนทวิตเตอร์ ซึ่งติดเทรนด์ยาวตลอดทั้งคืนวันที่ 18 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2565

 
และนี่เป็นเพียงเหตุการณ์บางส่วนที่ อินไซท์เอราได้รวบรวมกลับมาสรุปอีกครั้ง
ในปี 2023 นี้จะมีเหตุการณ์ใดให้ติดตามกันต่อ รับรองว่าอินไซท์เอรา จะนำเครื่องมือ DOM มาวิเคราะห์สถิติข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์อีกแน่นอนค่ะ ถ้าอยากให้ DOM ช่วยเก็บสถิติเรื่องไหนอีก บอกเราได้เลยนะคะ

ทำความรู้จัก DOM : Social Listening & Social Analytics Tool จาก InsightEra

เครื่องมือที่พัฒนาโดยคนไทย ตอบโจทย์ธุรกิจไทย เพราะวิเคราะห์ #Insight ภาษาไทยอย่างแม่นยำ
📌 https://www.insightera.co.th/dom/ 

 

✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]