SHARES:

จากเหตุการณ์ยุบสภาฯ ในวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเด็นร้อนบนโซเชียลมีเดียตอนนี้ ‘เลือกตั้ง66’ ถูกจับตามองมากที่สุด เพราะตามข้อกำหนดหลังยุบสภาฯที่ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน

ล่าสุดทาง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีประกาศสำหรับการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 27 จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้

แน่นอนว่าขณะนี้ชาวโซเชียลต่างพูดถึงเหตุการณ์นี้มากมาย วันนี้’อินไซท์เอรา’ ขอพาทุกท่านไปเจาะลึกกับประเด็นนี้กันค่ะ ว่าเสียงส่วนใหญ่จะพูดถึงเหตุการณ์นี้ และแต่ละพรรคจะถูกพูดถึงในสัดส่วนเท่าไรบ้าง?

จากผลสำรวจล่าสุด โดยการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ DOM – Social Listening & Social Analytics Tool (https://www.insightera.co.th/dom/) 
👉 โดยเริ่มเก็บสถิติที่เป็นข้อมูลล่าสุดตลอดทั้งเดือนนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 – 21 มีนาคม 2566
ทั้งนี้เครื่องมือ DOM ได้รวบรวมข้อมูลที่ถูกพูดถึง โดยวัดจาก Keyword ‘เลือกตั้ง’ และแบ่งกลุ่ม Category ตามพรรคการเมือง โดยผลลัพธ์การพูดถึงมีมากกว่า 4,931,717 Engagement

สำหรับการพูดถึงในประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ไม่ได้เจาะจงถึงพรรคใดๆ มีสูงถึง 1,959,706 Engagement 

และสำหรับผลลัพธ์ที่ถูกพูดถึงโดยแบ่งตามพรรค ในส่วนของการมีส่วนร่วม (Engagement) บน Social Media มากที่สุด ได้แก่
พรรคเพื่อไทย 1,678,739 Engagement
พรรคภูมิใจไทย 616,022 Engagement
พรรคพลังประชารัฐ 559,813 Engagement
พรรคก้าวไกล 467,831 Engagement
พรรคไทยสร้างไทย 328,814 Engagement
พรรครวมไทยสร้างชาติ 328,534 Engagement
พรรคประชาธิปัตย์ 299,453 Engagement
พรรคไทยภักดี 109,873 Engagement
พรรคเสรีรวมไทย 101,572 Engagement
พรรคกล้า 19,175 Engagement 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติจาก Social Media รวบรวมจากหลากหลายช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, Youtube, Pantip, Blockdit และ Website
ช่องทางที่มากที่สุดคือ Facebook – 441,909 Mention และ 4,055,074 Engagement

จากตารางด้านบน เครื่องมือ DOM ได้สรุปผลลัพธ์ข้อมูลในส่วน การพูดถึง (Mention) และการมีส่วนร่วม (Engagement) มาจัดในรูปแบบกราฟ เพื่อเปรียบเทียบออกมาได้อย่างชัดเจน

มาในฝั่งของ Word Cloud การจับกลุ่มคำ ผ่านเครื่องมือ DOM 

พบว่ามีกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่ถูกพูดถึง นอกจากกลุ่มคำที่ตรงตัวอย่าง ‘เลือกตั้ง’ สำหรับพรรคการเมืองที่มีการถูกพูดถึงมากคือ ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลผลลัพธ์ของการพูดถึงที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงเรื่องของการ ‘ยุบสภา’ ที่ส่งผลให้เกิดการเลือกตั้ง 
สำหรับบุคคลที่มีการพูดถึงมากในเหตุการณ์นี้คือ ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

สำหรับสื่อที่ได้รับความสนใจมากที่สุดกับเหตุการณ์ ‘เลือกตั้ง66’
อันดับที่ 1 Voice TV โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 574,974 Engagement
อันดับที่ 2 ข่าวช่อง8 โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 434,050 Engagement
อันดับที่ 3 สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว โดยได้รับความสนใจรวมจากทุกโพสต์มากกว่า 319,151 Engagement

มาถึงฝั่งของ Sentiment หรือ การวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกจากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้

เครื่องมือ DOM สามารถระบุผลลัพธ์โดยสรุปแยกแต่ละพรรค ถึงแนวโน้มกระแสการพูดถึงว่าพรรคใดมีการพูดถึงเชิงบวกหรือลบเป็นสัดส่วนเท่าไร

แต่เนื่องจากประเด็นการเมือง ส่วนของผลลัพธ์อาจมีประเด็นที่อ่อนไหว และอาจจะส่งผลกระทบต่อทางผู้สมัครพรรคต่างๆ อินไซท์เอราจึงขอสรุปเป็นแนวโน้มรวมจาก Keyword ทั้งหมด สรุปมาดังนี้ค่ะ

ข้อมูลที่น่าสนใจจากเครื่องมือ DOM ที่บอกแนวโน้มเสียงบนโลกออนไลน์ ว่ามีการพูดถึงผู้สมัครในอารมณ์เชิงบวก หรือลบ จาก Keyword ‘เลือกตั้ง’ และที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง

เชิงบวก (Positive) – 1,500,779 Engagement
ไม่เจาะจง (Neutral) – 3,026,379 Engagement
เชิงลบ (Negative) – 401,354 Engagement

สำหรับการเลือกตั้งปีนี้ ประชาชนชาวไทย ยังพอมีเวลาที่จะศึกษานโยบายของแต่ละพรรค ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม นี้
ซึ่งการพูดถึง และความสนใจที่เกิดขึ้นบนทั้งหมด Social Media ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถวัดกระแสสังคมบนโลกออนไลน์ รวมทั้งแนวโน้มในการพูดถึง ทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ กับผู้สมัครแต่ละพรรค ทั้งนี้สามารถดูแนวความคิดในการพัฒนาประเทศของผู้สมัครแต่ละท่านจากสื่อต่างๆ และอนาคตหากมีข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ที่น่าสนใจ อินไซท์เอราจะนำมาแชร์อีกแน่นอนค่ะ

อยากให้ DOM ช่วยเก็บสถิติเรื่องไหนอีก พิมพ์บอกได้เลย 👍
สนใจทดลองใช้ DOM หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 
https://www.insightera.co.th/dom/

 ✓ The right insight at your fingertips.

—————

“InsightEra” ผู้ให้บริการ MarTech แบบครบวงจร

สนใจหรือสอบถามเพิ่มเติม
https://www.insightera.co.th/contact-us/
Email : [email protected]